Blog

โรคข้ออักเสบ กับ รูมาตอยด์ แตกต่างกันอย่างไร?

โรคข้ออักเสบ กับ รูมาตอยด์ แตกต่างกันอย่างไร?


1 minute read

Listen to article
Audio is generated by AI and may have slight pronunciation nuances.


โรคข้ออักเสบ และ โรครูมาตอยด์ เป็นโรคที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคเดียวกัน
 แต่จริงๆ แล้ว 2 โรคนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

โรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบ (Arthritis)

เป็นโรคที่มีความเสี่ยงตามอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มของโรคที่ทำให้ข้อต่ออักเสบมีหลายชนิด เช่น 
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ข้ออักเสบจากเกาต์ (Gout) เป็นต้น

สาเหตุ : 

เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมของกระดูกอ่อนที่รองข้อ การสะสมของผลึกยูริก การติดเชื้อ การบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น 

อาการ : 

มีอาการปวดข้อ ข้อแข็ง ข้อบวม ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของโรคข้ออักเสบที่คนไข้เป็นอยู่

กลุ่มเสี่ยง :

พบในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีประวัติการบาดเจ็บที่ข้อ

โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังที่ข้อต่อหลายข้อ โดยเฉพาะข้อต่อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า และข้อนิ้วมือ นอกจากนี้ โรครูมาตอยด์ยังอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย

สาเหตุ :

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง

อาการ : 

ปวดข้อต่อหลายข้อพร้อมๆ กัน มีอาการข้อบวม หรือข้อแข็ง โดยเฉพาะตอนเช้า บางครั้งพบว่าอาจมีอาการอ่อนเพลีย หรือมีไข้ร่วมด้วย

กลุ่มเสี่ยง :

พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักพบในช่วงอายุ 30-50 ปี

ตารางเปรียบเทียบ

ลักษณะ

โรคข้ออักเสบ (Arthritis)โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
สาเหตุ

เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บ การติดเชื้อ การเสื่อมของข้อต่อ เป็นต้น

เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
ข้อที่อักเสบอาจเกิดกับข้อต่อบริเวณเดียวหรือมากกว่านั้นมักเป็นข้อต่อเล็กๆ
ความรุนแรงระดับความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของโรคข้ออักเสบที่คนไข้เป็นหากเป็นเรื้อรัง อาจพบอาการที่รุนแรงและทำให้ข้อผิดรูปได้
ความรุนแรงมักมีผลกระทบเฉพาะข้อต่อ

อาจมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด หัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น

หากเบื้องต้นพบว่ามีอาการปวดบริเวณข้อต่อ หรือมีอาการปวดบวมแดงที่ข้อต่อเป็นระยะเวลานานและไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง เช่น ประคบเพื่อแก้ปวดแล้วอาการปวดไม่หาย ควรหาครีมทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ หรือ พบแพทย์
เพื่อวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุต่อไป

แหล่งอ้างอิง

Med Park Hospital : http://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/rheumatoid-arthritis
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ : https://www.bumrungrad.com/th/conditions/rheumatoid-arthritis
โรงพยาบาลสมิติเวช : https://samitivejchinatown.com/th/article/bone-osteoarthritis/arthritis

#ลดปวดเข่า #เข่าเสื่อม #ข้อต่อ #ครีมทาแก้ปวด #ยาแก้ปวด



« Back to Blog