Table of Contents
เอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) คือ เส้นเอ็นขนาดใหญ่ที่เชื่อมกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า มีความสำคัญมากในการเดิน วิ่ง กระโดด และทำกิจกรรมทางกายต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เอ็นร้อยหวายมักจะเป็นจุดที่เกิดการบาดเจ็บบ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีการใช้งานหนักหรือท่าทางไม่ถูกต้อง เช่น นักวิ่งที่จำเป็นต้องเพิ่มความหนักหรือระยะเวลาในการวิ่งอย่างกะทันหัน หรือ ในคนวัยกลางคนที่ไม่ได้เล่นกีฬา เช่น เทนนิส หรือ ฟุตบอล เป็นประจำอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
การอักเสบของเอ็นร้อยหวาย หรือที่เรียกว่า "Achilles Tendinitis" คือ สภาวะที่เส้นเอ็นอ่อนแอ ปวด บวม แดง อาจนำไปสู่การแตกขาดของเส้นเอ็น ซึ่งเป็นอาการบาดเจ็บ
ที่รุนแรง
อาการของเอ็นร้อยหวายอักเสบ
ผู้ที่มีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบมักจะรู้สึกเจ็บที่บริเวณด้านหลังของข้อเท้า หรือกล้ามเนื้อน่อง โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรม เช่น การเดินหรือวิ่ง อาการปวดอาจจะเริ่มเบา ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา บางครั้งอาจรู้สึกเจ็บแม้ในขณะพัก หรือมีอาการบวม แดงบริเวณเอ็นร้อยหวาย บางคนอาจรู้สึกถึงการแตกหรือขาดของเอ็นร้อยหวายเมื่อเกิดการบาดเจ็บรุนแรง
สาเหตุการบาดเจ็บเอ็นร้อยหวาย
1. การใช้งานหนักเกินไป
การทำกิจกรรมทางกายที่ใช้เอ็นร้อยหวายอย่างหนัก เช่น การวิ่ง การกระโดด หรือการออกกำลังกายที่ใช้การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ของขาและเท้า ทำให้เอ็นร้อยหวายรับน้ำหนักและแรงกระแทกมากขึ้น ถ้าไม่มีการพักผ่อนหรือฟื้นฟูเพียงพอ เอ็นร้อยหวายจะเกิดการอักเสบและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย
2. การยืดเส้นเอ็นไม่เพียงพอ
หากไม่ได้ทำการยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นก่อนการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม อาจทำให้เอ็นร้อยหวายต้องรับแรงมากกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
3. อายุที่เพิ่มขึ้น
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นจะลดลง ทำให้เส้นเอ็นมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้น รวมถึงฟื้นตัวจากการบาดเจ็บช้าลง และมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บซ้ำ
4. การออกกำลังกายผิดท่า
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นจะลดลง ทำให้เส้นเอ็นมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้น รวมถึงฟื้นตัวจากการบาดเจ็บช้าลง และมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บซ้ำ
5. รองเท้าที่ไม่เหมาะสม
การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับกิจกรรมหรือไม่พอดีกับขนาดของเท้า ทำให้เกิดแรงกดดันหรือแรงเสียดทานที่เอ็นร้อยหวายมากเกินไป รองเท้าที่หมดสภาพหรือเก่าเกินไปก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน
6. การเปลี่ยนแปลงความหนักของการออกกำลังกายอย่างทันที
การเพิ่มความหนักหรือความถี่ของการออกกำลังกายอย่างฉับพลัน โดยไม่ได้มีการเตรียมตัวที่เพียงพอ ทำให้เอ็นร้อยหวายปรับตัวไม่ทัน และเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บ
7. โรคหรือภาวะทางสุขภาพบางอย่าง
ภาวะเช่นโรคเบาหวาน โรคเกาต์ หรือภาวะเส้นเอ็นอักเสบอื่น ๆ อาจทำให้เอ็นร้อยหวายมีความเปราะบางมากขึ้น และมีโอกาสเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
วิธีป้องกันและดูแลรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ
1. การยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
การยืดกล้ามเนื้อขา น่อง และเอ็นร้อยหวายก่อนและหลังการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ
2. การใช้รองเท้าที่เหมาะสม
เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับกิจกรรม สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี หรือใช้แผ่นพยุงอุ้งเท้า (Arch support) อย่าลืมเปลี่ยนรองเท้าทันทีหากมีการสึกหรอ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้งานรองเท้าที่เสื่อมสภาพ
3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป
ควรเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหลีกเลี่ยงการใช้งานเอ็นร้อยหวายเกินความจำเป็น
4. การฟื้นฟูและพักผ่อน
ให้เวลาร่างกายได้พักฟื้นหลังการใช้งานหนัก หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ขาและเท้าอย่างหนักจนเกินไป
5. การประคบน้ำแข็ง
หากเริ่มมีอาการปวดหรือบวม ควรใช้การประคบน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และควรหยุดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปวดจนกว่าจะหายดี
6. การทำกายภาพบำบัด
หากมีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของเอ็นร้อยหวายและป้องกันการบาดเจ็บในอนาคต
7. การปรับเปลี่ยนกิจกรรม
หากการทำกิจกรรมบางอย่างทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นร้อยหวาย ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนกิจกรรมนั้น เช่น การเลือกกิจกรรมที่ใช้แรงกระแทกน้อยลง เช่น การปั่นจักรยานหรือว่ายน้ำ แทนการวิ่ง
เมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์
หากอาการปวดเอ็นร้อยหวายไม่หายไป แนะนำใช้ครีมบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการบวมอย่างต่อเนื่อง ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาที่เหมาะสม โดยเฉพาะหากมีอาการเจ็บปวดที่รุนแรงหรือรู้สึกถึงฉีกขาดของเอ็นร้อยหวาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการบาดเจ็บรุนแรงที่ต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน
สรุป
เอ็นร้อยหวายอักเสบเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีกิจกรรมทางกายที่หนักหรือไม่ถูกต้อง แม้ว่าจะเป็นอาการที่สามารถป้องกันได้ด้วยการยืดกล้ามเนื้อ การใช้รองเท้าที่เหมาะสม และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ แต่หากเกิดอาการอักเสบแล้ว ควรรับการรักษาโดยใช้ครีมทาแก้ปวดอย่างเหมาะสมและปรับเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำในอนาคต
อ้างอิง
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/achilles-tendinitis/symptoms-causes/syc-20369020
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21553-achilles-tendinitis
#ลดปวดเข่า #เข่าเสื่อม #ข้อต่อ #ครีมทาแก้ปวด #ยาแก้ปวด