June 27, 2024
ยาคลายกล้ามเนื้อ: อันตรายหรือไม่?
ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นยาที่ใช้รักษาภาวะบาดเจ็บหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ เช่น อาการปวดตึง หดเกร็งตัว หรือการกระตุกของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักเกิดจากการออกกำลังกาย การใช้งานมากเกินไป การอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน จึงพบบ่อยในกลุ่มคนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ และกลุ่มวัยทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก หรือผิดท่าเป็นระยะเวลานาน รวมถึงใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท โดยยาคลายกล้ามเนื้อนี้ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดอาการตึงเครียดได้
หลายคนอาจสงสัยว่ายาคลายกล้ามเนื้อนั้นมีความอันตรายหรือไม่ เนื่องจากยาส่วนใหญ่ต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ในบทความนี้ เราจะเล่าถึงประสิทธิภาพและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจและใช้ยาได้อย่างปลอดภัยกัน
ประเภทของยาคลายกล้ามเนื้อ
1. ยาคลายกล้ามเนื้อทั่วไป (Antispasmodic หรือ Skeletal Muscle Relaxants) : ใช้ในการรักษาอาการปวด หรืออักเสบ จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) หรือภาวะเรื้อรังเช่น อาการปวดหลังล่าง หรือคอ รวมถึงภาวะปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด (Fibromyalgia) ออกฤทธิ์โดยการกดระบบประสาทหรือป้องกันไม่ให้เส้นประสาทส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง
อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้ไม่ใช่ทางเลือกแรกสำหรับรักษาอาการปวดหรือหดเกร็งกล้ามเนื้อ มักใช้เป็นยาลำดับสองหลังจากที่ยาลำดับแรก เช่น พาราเซตามอล หรือ NSAIDs ไม่ได้ผล โดยใช้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยากลุ่ม antispasmodics รวมถึงการติดยาบางประเภท
ยากลุ่ม Antispasmodics เช่น: Carisoprodol, Metaxalone, Orphenadrine เป็นต้น
2. ยาคลายกล้ามเนื้อแบบลดความตึงเครียด (Antispastic) : ใช้ในการรักษาอาการชักหรือเกร็งกล้ามเนื้อจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท (Muscle spasticity) เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis), ภาวะสมองพิการ (Cerebral Palsy), การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injury) หรือโรคบาดทะยัก เป็นต้น
ยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่ม Antispastic ไม่ควรนำไปรักษาอาการบาดเจ็บหรือโรคของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) โดยส่วนใหญ่ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อไขสันหลังหรือกล้ามเนื้อโดยตรงเพื่อลดการตึงของกล้ามเนื้อ (hypertonicity) และอาการเกร็งกระตุกโดยไม่ตั้งใจ
ยากลุ่ม Antispastic เช่น: Baclofen, Tizanidine, Diazepam เป็นต้น
ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ
แม้ยาคลายกล้ามเนื้อจะมีประโยชน์ในการรักษาอาการปวดและความตึงเครียดในกล้ามเนื้อ แต่การใช้ยากลุ่มนี้ก็มีผลข้างเคียงที่ควรระวัง เช่น
-
ง่วงนอนอ่อนเพลีย
-
วิงเวียนศีรษะตาพร่า
-
คลื่นไส้อาเจียน
-
ท้องผูก
-
ปากแห้ง
บางรายอาจมีอาการรุนแรง ถึงขั้น อาการชักหรือหมดสติ
คำแนะนำในการใช้ยาคลายกล้ามเนื้ออย่างปลอดภัย
ยาคลายกล้ามเนื้อจะกดระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ทำให้รู้สึกง่วงนอน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อย ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ หรือกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัวหรืองานที่ใช้ประสาทสัมผัสมากๆ เช่น การขับรถ หรือใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ที่รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อควรปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
-
ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา: ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ได้คำแนะนำที่ถูกต้องและ ขนาดที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
-
ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยา: ควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งและไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาด้วยตัวเอง เนื่องจากยามีฤทธิ์เสพติด หากใช้ยาเกินขนาดอาจเสี่ยงต่อการเกิดประสาทหลอน หรือถึงขั้นเสียชีวิต
-
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้ยาคลายกล้ามเนื้ออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการง่วงนอนหรือเวียนศีรษะ
-
หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาบางประเภท: จำพวก ยากดการทำงานของสมอง เช่น กลุ่มยาแก้ปวดชนิดเสพติด (opioids) หรือ ยารักษาอาการซึมเศร้า, ยานอนหลับ, และสมุนไพรบางชนิด เช่น St. John’s wort
สรุป
ยาคลายกล้ามเนื้อสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการรักษาอาการปวดและความตึงเครียดในกล้ามเนื้อ แต่การใช้ยานี้ควรทำด้วยความระมัดระวังและตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อป้องกันผลข้างเคียงและความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การใช้ยาอย่างถูกต้องและระมัดระวังจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น
อ้างอิง
https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/24686-muscle-relaxers
https://www.healthline.com/health/muscle-relaxers
#ลดปวดเข่า #เข่าเสื่อม #ข้อต่อ #ครีมทาแก้ปวด #ยาแก้ปวด
หาซื้อ ครีมทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ Cetilar ที่ร้านขายยาได้ที่
Telephone : 080-825-1142
Facebook : CetilarThailand
Email : [email protected]
Line ID : Cetilar
บทความที่น่าสนใจ
- ประคบร้อน-เย็น กับ ยาทาแก้ปวด แบบไหนดีกว่ากัน ?
- ทำไมเป็นเส้นเอ็นอักเสบ ถึงหายช้า?
- รีวิว 5 ยี่ห้อ ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อตัวไหนดี ปลอดภัย เห็นผลจริง
- ข้ออักเสบ กับ รูมาตอยด์ แตกต่างกันอย่างไร?
- 5 อาการบาดเจ็บ ที่พบบ่อยเวลาตีกอล์ฟ
- 5 เหตุผล นักกีฬาอาชีพ เลือกใช้ ครีม CFA
- 6 อาหารควรเลี่ยง ปวดเข่า ปวดข้อต่อ ในโรคเกาต์
- ยาคลายกล้ามเนื้อ กับ ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ ต่างกันอย่างไร?
- CFA ทางการแพทย์ : บรรเทาอาการ ปวดเข่า ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นอักเสบ
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ ทำไมจึงบาดเจ็บบ่อย
- เส้นเอ็นอักเสบ กับ กล้ามเนื้ออักเสบต่างกันอย่างไร
- แชร์เคล็ดลับ ลดอาการปวดเข่า ป้องกันข้อเข่าเสื่อม
- ยาคลายกล้ามเนื้อ: อันตรายหรือไม่?
- 5 วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมไม่ต้องผ่าตัด
- ไขข้อข้องใจ ยากินแก้ปวด กับยาทาแก้ปวด แบบไหนดีกว่ากัน
- ครีมทาแก้ปวด หรือ ยาทาแก้ปวด : เรียกแบบไหนถูกต้อง?
- ครีมแก้ปวดกล้ามเนื้อสูตรเย็น VS สูตรร้อนต่างกันอย่างไร?
- สาร CFA ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อม ไม่ต้องผ่าตัด
- สาร CFA คืออะไร? ทำงานอย่างไรจึงช่วยลดปวดเข่าและเข่าเสื่อม?
- ปวดกล้ามเนื้อจากออฟฟิศซินโดรม? ครีมตัวไหนช่วยได้บ้าง?
- นักกีฬาเข่าบาดเจ็บ ฟื้นฟูได้ไวด้วยครีมทาแก้ปวดเข่า ผลิตจากสาร CFA
- ข้อควรระวังในการใช้ครีมทาแก้ปวดและยาทาแก้ปวด
- ครีมแก้ปวดเข่าตัวไหนดี? รีวิว 5 ยี่ห้อขายดีปลอดภัย เห็นผลจริง