June 27, 2024
แชร์เคล็ดลับ ลดอาการปวดเข่า ป้องกันข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthristis) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากกระดูกอ่อนที่หุ้มส่วนปลายของกระดูกหัวเข่าสึกหรอลง ซึ่งกระดูกอ่อนทำหน้าที่เปรียบเสมือนเบาะ ป้องกันไม่ให้กระดูกเกิดการเสียดสีกัน หากกระดูกอ่อนสึกหรอมากเกินไปจะทำให้โครงสร้างของกระดูกบริเวณใกล้เคียงเกิดการเปลี่ยนแปลง ผิดรูป เคลื่อนไหวลำบาก รวมถึงเกิดการอักเสบ ปวด ตึง ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นไม่สามารถรักษาให้หาดขาดได้ อีกทั้งความรุนแรงยังเพิ่มขึ้นตามวัยที่มากขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นแล้ว การรักษาสุขภาพข้อเข่าให้ยังคงสุขภาพดี ไม่เสื่อมสภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด
เราสามารถป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้หรือไม่
ข้อเข่าเสื่อมเป็นผลมาจากการใช้งานข้อเข่าในทุก ๆ วัน ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ความสึกหรอก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แม้ความเสื่อมจากอายุจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การใช้ชีวิตประจำวันให้ดีต่อสุขภาพข้อเข่า อาจช่วยชะลอการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้
1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี
น้ำหนักตัวที่มากขึ้นเพิ่มแรงกดทับไปยังข้อเข่า และอาจทำให้สะโพก ข้อเท้า กระดูกเท้า บาดเจ็บได้อีกด้วย น้ำหนักตัวที่มากขึ้นประมาณ 4.5 กิโลกรัม สามารถเพิ่มแรงกดทับที่หัวเข่าได้ 13 - 27 กิโลกรัม เลยทีเดียว และแรงกดทับจะเพิ่มขึ้นเมื่อเราเดินขึ้นบันได หรือวิ่ง อีกทั้งไขมันในร่างกายที่มากขึ้นยังเพิ่มการอักเสบและความเสื่อมของกระดูกอ่อน ดังนั้นแล้วการลดน้ำหนักในผู้ที่น้ำหนักเกิน รวมถึงการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพตลอดช่วงชีวิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
โรคข้อเข่าเสื่อมมีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นเพิ่มการอักเสบในร่างกาย สารอักเสบต่าง ๆ จึงเกิดการสะสมอยู่ในน้ำไขข้อ ที่ทำหน้าที่ช่วยลดการเสียดสีภายในหัวเข่า เป็นผลให้กระดูกอ่อนที่หุ้มปลายกระดูกเกิดความเสื่อมได้ ดังนั้นการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงมีความจำเป็นในการลดความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันปัญหาข้อเข่า เพราะการออกกำลังกายช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดี และยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าแข็งแรงมากขึ้น พยายามออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีเป็นประจำทุกวัน
4. ปกป้องหัวเข่าจากการบาดเจ็บ
แม้การออกกำลังกายจะเป็นวิธีที่สำคัญในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม แต่การบาดเจ็บของข้อต่อที่เกิดจากการออกกำลังกาย ก็เป็นตัวเร่งให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นระมัดระวังท่าออกกำลังกายบางประเภทที่เพิ่มความเสี่ยงการบาดเจ็บ สวมรองเท้าที่ลดแรงกระแทก และควรอบอุ่นร่างกายด้วยการเคลื่อนไหวเบา ๆ ประมาณ 5 - 10 นาที ก่อนออกกำลังกาย จะสามารถลดโอกาสการบาดเจ็บที่จะเกิดกับเข่าได้ นอกจากนี้ควรเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายไม่ให้จำเจในแต่ละวัน เพื่อป้องกันแรงที่จะเกิดกับข้อต่อเดิมซ้ำเรื่อยๆ
อีกทั้งระมัดระวังกิจกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การยกของหนัก หรือขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ครั้ง หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อ เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ หรือไขว่ห้างเป็นเวลานานๆ
5. ให้ความสำคัญกับอาการปวดหัวเข่าที่เกิดขึ้น
ในบางวัน เราอาจเผลอทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายมากเกินไป หากมีอาการปวดข้อเข่าที่กินเวลานาน 1 ถึง 2 ชั่วโมงหลังทำกิจกรรม ควรทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้น้อยลง หรือหยุดทำกิจกรรมเพื่อให้ข้อต่อได้พัก อาจใช้น้ำแข็งประคบ หรือยาทาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ถึงแม้ว่าโรคข้อเข่าเสื่อมจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่การป้องกันและลดอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ อย่ามองข้ามอาการปวดหัวเข่าที่เกิดขึ้น และหาทางบรรเทาอาการให้เร็วที่สุด เพื่อให้คุณสามารถรักษาสุขภาพข้อเข่าให้ดี เพื่อสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ต่อไป
อ้างอิง
https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?contenttypeid=1&contentid=1411
https://www.webmd.com/osteoarthritis/osteoarthritis-prevention-1
https://www.hopkinsarthritis.org/patient-corner/disease-management/role-of-body-weight-in-osteoarthritis/
#ลดปวดเข่า #เข่าเสื่อม #ข้อต่อ #ครีมทาแก้ปวด #ยาแก้ปวด
หาซื้อ ครีมทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ Cetilar ที่ร้านขายยาได้ที่
Telephone : 080-825-1142
Facebook : CetilarThailand
Email : [email protected]
Line ID : Cetilar
บทความที่น่าสนใจ
- ประคบร้อน-เย็น กับ ยาทาแก้ปวด แบบไหนดีกว่ากัน ?
- ทำไมเป็นเส้นเอ็นอักเสบ ถึงหายช้า?
- รีวิว 5 ยี่ห้อ ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อตัวไหนดี ปลอดภัย เห็นผลจริง
- ข้ออักเสบ กับ รูมาตอยด์ แตกต่างกันอย่างไร?
- 5 อาการบาดเจ็บ ที่พบบ่อยเวลาตีกอล์ฟ
- 5 เหตุผล นักกีฬาอาชีพ เลือกใช้ ครีม CFA
- 6 อาหารควรเลี่ยง ปวดเข่า ปวดข้อต่อ ในโรคเกาต์
- ยาคลายกล้ามเนื้อ กับ ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ ต่างกันอย่างไร?
- CFA ทางการแพทย์ : บรรเทาอาการ ปวดเข่า ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นอักเสบ
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ ทำไมจึงบาดเจ็บบ่อย
- เส้นเอ็นอักเสบ กับ กล้ามเนื้ออักเสบต่างกันอย่างไร
- แชร์เคล็ดลับ ลดอาการปวดเข่า ป้องกันข้อเข่าเสื่อม
- ยาคลายกล้ามเนื้อ: อันตรายหรือไม่?
- 5 วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมไม่ต้องผ่าตัด
- ไขข้อข้องใจ ยากินแก้ปวด กับยาทาแก้ปวด แบบไหนดีกว่ากัน
- ครีมทาแก้ปวด หรือ ยาทาแก้ปวด : เรียกแบบไหนถูกต้อง?
- ครีมแก้ปวดกล้ามเนื้อสูตรเย็น VS สูตรร้อนต่างกันอย่างไร?
- สาร CFA ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อม ไม่ต้องผ่าตัด
- สาร CFA คืออะไร? ทำงานอย่างไรจึงช่วยลดปวดเข่าและเข่าเสื่อม?
- ปวดกล้ามเนื้อจากออฟฟิศซินโดรม? ครีมตัวไหนช่วยได้บ้าง?
- นักกีฬาเข่าบาดเจ็บ ฟื้นฟูได้ไวด้วยครีมทาแก้ปวดเข่า ผลิตจากสาร CFA
- ข้อควรระวังในการใช้ครีมทาแก้ปวดและยาทาแก้ปวด
- ครีมแก้ปวดเข่าตัวไหนดี? รีวิว 5 ยี่ห้อขายดีปลอดภัย เห็นผลจริง